วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

คำถามต่อบทความ "ศาสนาของผู้สิ้นศรัทธา" ในบล็อกจิตวิวัฒน์

คำถาม 1 - ทำไมต้องมี "ที่พึ่ง" ?

คำถาม 2 - จากข้อความ "...ถ้อยคำของนักวิชาการ นักปรัชญา เหล่านี้ฟังดูน่าเชื่อถือ แต่ถ้าถามว่าแล้วเขากำลังจะนำพาพวกเราไปสู่อะไร..." ผมถามว่า แล้วที่ผ่านมา ศาสนานำเราไปสู่อะไรบ้าง?
พระสงฆ์หยุดสงครามได้หรือ? สุดท้ายก็ปลุกเสกเครื่องรางให้ทหารเข้าสงคราม
แล้วครูเสดล่ะ? ไม่ใช่เพราะศาสนาหรือ?
การล่าแม่มด การเผาทั้งเป็น การประหารชีวิตพวกรักร่วมเพศ การปาหินให้ตาย นี่ก็เพราะศาสนาไม่ใช่หรือ?

คำถาม 3 - คุณเชื่อการขุดค้นทางอารยธรรมที่ว่ามนุษย์มีอารยธรรมมาไม่เกิน 10000 ปีไหม? ถ้าเชื่อ คุณก็ลืมนิยายที่ว่าด้วยการเวียนว่ายตายเกิดนับสิบนับร้อยกัปป์เสีย เพราะมันเข้ากันไม่ได้

คำถาม 4 - คุณเชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินไหม? ทฤษฎีที่บอกว่า เรามีต้นกำเนิดมาจากลิง และทำให้เราพัฒนาการรักษาโรคได้อย่างทุกวันนี้ ถ้าเชื่อ ก็จงลืมบัญญัติที่ว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์

และหากให้ผมตอบคำถามว่า ผมจะทิ้งอะไรไว้ให้ลูก ผมจะตอบว่า "การยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรม ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ชาวโลกอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข"

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

มาตรวัดความดีของข้าพเจ้า


ความเห็นส่วนตัว - ผมว่ามันมีเกณฑ์สองระดับในการวัด

ระดับที่หนึ่ง - สิทธิมนุษยชน : คุณต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น หรือพูดง่าย ๆ คุณต้อง "ไม่ทำในสิ่งที่คุณไม่อยากให้คนอื่นทำกับคุณ" ถ้าผ่านเกณฑ์นี้ไม่ควรมีใครมาเรียกคุณว่าเลว

ระดับที่สอง -... มนุษยธรรม : คุณส่งเสริมให้ผู้อื่นได้รับตามสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน หรือพูดง่ายๆ คุณ "ทำในสิ่งที่คุณอยากให้คนอื่นทำกับคุณ" โดยไม่ละเมิดข้อแรก ถ้าผ่านข้อนี้ก็เรียกว่า "ดี" ได้

ทำแค่นี้ก็อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงศาสนาให้ทะเลาะกันเปล่า ๆ ว่าาพระเจ้าใครดีกว่าใคร

การพนัน การลงทุน การ "ทำบุญ"


การพนันคือการจ่ายเงินโดยหวังผลตอบแทนต่อเจ้าของเงินเป็นตัวเงินตามความน่าจะเป็น
การลงทุนคือการจ่ายเงินโดยหวังผลตอบแทนต่อเจ้าของเงินเป็นตัวเงิน โดยผู้จ่ายเงินสามารถเลือกช่องทางวิธีการ จังหวะเวลา และปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด
การทำบุญคือการจ่ายเงินโดยหวังผลตอบแทนต่อเจ้าของเงินในรูปของสิ่งที่มองไม่เห็นที่เชื่อว่าจะช่วยให้ชีวิตดีขึ้นที่เรียกว่าบุญ

สามอย่างนี้มีองค์ประกอบร่วมที่เหมือนกัน คือ เป็นการจ่ายเงินโดยหวังผลตอบแทนต่อเจ้าของเงินเหมือนกัน
แต่บุญที่ว่าเนี่ย มีจริงไหม? ประสิทธิผลของมันเป็นไปตามที่ผู้จ่ายเงินคาดหวัง?

ผมตั้งคำถามนี้กับตัวเองมาพักใหญ่ๆ
ทำไมชาวบ้านที่ใส่บาตรทุกวันมานับสิบๆปีถึงไม่มีชีวิตที่ดีขึ้นสักที
ถ้ามันมีบุญ คืออำนาจอันมองไม่เห็นที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น อยู่จริงเนี่ย ปริมาณมันน่าจะนับอสงไขยจนน่าจะทำให้ชีวิตชาวบ้านดีขึ้น
แต่มันก็ไม่เป็นอย่างนั้น

พระภิกษุที่แม่ผมใส่บาตรเป็นประจำรูปหนึ่ง มีวัตรปฏิบัติดีงามตามที่พุทธศาสนิกยอมรับ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์
ก็ยังมีวันที่ล้มหมอนนอนเสื่อแรมเดือน
แม่ผมกินเจรักษาศีลมาร่วมยี่สิบปียังเป็น Fuch's Dystrophy โรคที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของคนนอกวงการโรคตา
คนไข้ประจำรายหนึ่งมีวิถีชีวิตที่เหมือนกับแม่ผมเกือบทุกประการก็ยังเป็นโรคหัวใจและอื่น ๆ มาหาผมอยู่เรื่อย

ทำไม?
กรรมเก่า?
คนประเทศนี้มันมีกรรมเก่ากันเยอะเป็นส่วนใหญ่เลยหรือ?

จ่ายเงินเพื่อ "บุญ" ไม่ได้ผลก็โทษ "กรรม"

ไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่า จ่ายเงินแล้วได้ "บุญ" จริงไหม หรือ "บุญ" น่ะมีไหม หรือมันมีประสิทธิภาพจริงตามที่เชื่อไหม

บางคนบอกว่า "ทำบุญ" เพื่อลดความตระหนี่
ผมกลับคิดว่า "ทำบุญ" แบบที่บ้านนี้เมืองนี้เรียกกันเนี่ยคือการแสดงออกซึ่งความเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่ง
เพราะมันคือ "การจ่ายเงินโดยหวังผลตอบแทนต่อเจ้าของเงิน" อยู่ดี แค่เปลี่ยนรูปแบบผลตอบแทนที่คาดหวังเท่านั้น

บางคนบอกว่า "ทำบุญ" แล้วได้ความสุขทันที
ผมคิดว่า ถ้าจ่ายเงินเพื่อความสุขมันก็มีตั้งหลายอย่าง
แล้วถ้าจะบอกว่า เป็นความสุขจากการให้ ละก็ ผมจะถามว่า จริง ๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่
มันคือความคาดหวังล่วงหน้าถึงผลตอบแทนที่ได้รับที่เรียกว่าบุญหรือเปล่า
ไม่เคยมีใครตั้งคำถามอย่างจริงจังกลับไปในอดีตว่าสิ่งที่คาดหวังมันเป็นไปตามที่คาดหวังไหม
หรือสุดท้ายเงินของเรากลายเป็นข้าวหมาแมว กองอิฐ สิ่งก่อสร้างอันไม่ได้ช่วยให้ชีวิตและสังคมดีขึ้นอย่างประเมินผลได้ไม่ subjective แม้กระทั่งความสำราญส่วนตัวของเหลือบริ้นในคราบนักบวช

หากจะหวัง "ความสุขจากการให้" ไม่ต้องไปคาดหวังล่วงหน้าหรอก
"ให้" กับ "คนที่ยังด้อยโอกาส"
"ให้" กับ "สังคมที่ยังด้อยโอกาส"
แล้วรอดูปฏิกิริยาตอบสนองของพวกเขาสิครับ ผมรับรองว่าคุณจะมีความสุขทันทีที่ไม่ใช่การหลอกตัวเอง
ถ้าคุณจะ "สละทรัพย์" ขอให้สละทรัพย์เพื่อสังคม เพื่อคนที่ด้อยกว่า
สังคมดีขึ้น สวัสดิภาพคุณก็จะดีขึ้น เป็นผลตอบแทนต่อที่สองที่คุณจะได้อย่างเป็นรูปธรรมถัดจากความสุขที่เห็นผู้รับมีความสุข

อย่างน้อยในความคิดของผมก็เป็นรูปธรรมกว่า "บุญ"